JayJootar.com

Technology, Strategy & History

Medical Fare Asia 2020: Role of Virtual Healthcare after the Pandemic

December 11, 2020

ผมได้รับเกียรติเชิญเป็น panelist ในงาน Medical Fare Asia 2020 ในหัวข้อ "Role of Virtual Healthcare after the Pandemic" ในวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา

ผมอาจจะเป็นคนเดียวใน panel ที่ยังไม่ปักใจเชื่อว่า telemedicine จะนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายหลังสถานการณ์โควิดเริ่มดีขึ้นทั่วโลก อาจจะเพราะบริษัทมีประสบการณ์ทำ telemed ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว จึงเห็นอะไรมาหลายอย่างในการนำ telemed มาใช้

ผมพบว่าคนสายเทคโนโลยียังไม่ค่อยเข้าใจประเด็นของเทคโนโลยีตัวนี้ในบริบทการแพทย์เท่าไรนัก

การ promote adoption ยังไปแบบทื่อๆเหมือน telemed เป็น silver bullet ที่มาแก้ไขปัญหาได้ทุกอย่าง

ประเด็นที่ใหญ่ที่สุดที่ต้องเข้าใจกันคือ...

การใช้ telemed โดยนั้นคนที่ได้รับประโยชน์เต็มๆคือ "ผู้ป่วย" ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์โดยส่วนใหญ่ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้บริการ telemed กับผู้ป่วย (ทั้งที่งานเดิมก็หนักอยู่แล้ว)

จากเดิมที่ทำงานผ่านระบบ HIS (ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล) เมื่อมาใช้บริการผ่าน telemed จะต้องใช้ระบบเพิ่มอีก 2-3 ระบบ เพื่อให้บริการได้ครบ flow บางอย่างต้องทำ manual

การสร้างภาระงานเพิ่มเติมนี้ทำให้ telemed ไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายก่อนหน้าโควิดจะมา

เมื่อโควิดมา telemed ถูกนำมาใช้กันอย่างมาก โดยมี killer app หรือจุดขายหลักคือการลดการที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องพบผู้ป่วย face-to-face เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้นักรบเสื้อกาวน์ต้องเสียไพร่พลไปโดยไม่จำเป็น

แต่สมการนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อโควิดจางลง การใช้งาน telemed จะจางลงไปเมื่อความเสี่ยงการติดเชื้อน้อยลง เพราะภาระงานเพิ่มเติมที่ตามมาจากการให้บริการ telemed

มีเงื่อนไขสองอย่างที่จะทำให้ telemed เป็นที่ใช้กันแพร่หลายหลังโควิด

ข้อที่ 1 คือระบบ telemed ต้องจัดการ flow ได้ทุกอย่างเบ็ดเสร็จในระบบเดียว และทำงานควบคู่กับ HIS โดยไม่ต้องพึ่งระบบอื่นๆ ซึ่งสร้างภาระให้บุคลากรทางการแพทย์

ข้อที่ 2 คือระบบ telemed ต้องถูกนำมาใช้อย่างถูกบริบท โดยเฉพาะการนำมาใช้ใน clinical pathway ที่สมเหตุสมผล เช่นการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การดูแลคุณแม่และเด็กวัยแรกเกิด ผู้ป่วยจิตเวช และการดูแลผู้ป่วยโรคอื่นๆที่ต้องมีการ follow up อย่างต่อเนื่อง

ใน clinical pathways เหล่านี้ หลายๆ visit ไม่จำเป็นต้องมาที่ รพ ซึ่งเหมาะกับการใช้ telemed

ส่วนใน visit ที่ควรมา รพ ก็ควรให้ผู้ป่วยมา รพ ตามปกติครับ ไม่ต้องใช้ telemed มันพร่ำเพรื่อไปหมด

หลายคนที่พูดถึงการนำ telemed มาแทนที่การมา รพ เลย ในความเป็นจริงมี use case ที่ทำแบบนั้นไม่มาก ถึงทำได้ในกรณีนั้นก็อาจจะไม่ใช่วิธีที่เหมาะที่สุดก็ได้

เล่า key point สั้นๆประมาณนี้นะครับ ถ้าอยากดูคลิปเต็มๆสามารถกดได้ที่ลิงค์นี้เลย

และถ้ามี รพ ไหนอยากใช้ระบบ telemed ที่เบ็ดเสร็จในตัวและทีมงานใส่ใจในบริบททางการแพทย์ ไม่ยัดเยียดเทคโนโลยี ติดต่อมาที่ inbox หรือส่งอีเมล์มาได้ที่ contact@mor.company นะครับ (เว็บบริษัท https://mor.company)

ทีมงานยินดีให้คำแนะนำและการสนับสนุนอื่นๆเต็มที่ครับ และช่วงนี้เรามี free trial ให้รพที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงโควิดนี้ด้วยครับ